บทเห่ชมเรือ
พระเสด็จโดยแดนชลทรงเรือต้นงามเฉิดฉายกิ่งแก้วแพร้วพรรณรายพายอ่อนหยับจับงามงอนนาวาแน่นเป็นขนัดล้วนรูปสัตว์แสนยากรเรือริ้วทิวธงสลอนสาครลั่นครั้นครื้นฟองเรือครุฑยุดนาคหิ้วลิ่วลอยมาพาผันผยองพลพายกรายพายทองร้องโห่เห่โอ้เห่มาสรมุขมุขสี่ด้านเพียงพิมานผ่านเมฆาม่านกรองทองรจนาหลังคาแดงแย่งมังกรสมรรถไชยไกรกาบแก้วแสงแวววับจับสาครเรียบเรียงเคียงคู่จรดังร่อนฟ้ามาแดนดินสุวรรณหงส์ทรงพู่ห้อยงามชดช้อยลอยหลังสินธุ์เพียงหงส์ทรงพรหมินทร์ลินลาศเลือนเตือนตาชมเรือไชยไวว่องวิ่งรวดเร็วจริงยิ่งอย่างลมเสียงเส้าเร้าระดมห่มท้ายเยิ่นเดินคู่กัน ฯคชสีห์ทีผาดเผ่นดูดังเป็นเห็นขบขันราชสีห์ทียืนยันคั่นสองคู่ดูยิ่งยงเรือม้าหน้ามุ่งน้ำแล่นเฉื่อยฉ่ำลำระหงเพียงม้าอาชาทรงองค์พระพายผายผันผยองเรือสิงห์วิ่งเผ่นโผนโจนตามคลื่นฝืนฝาฟองดูยิ่งสิงห์ลำพองเป็นแถวท่องล่องตามกันนาคาหน้าดังเป็นดูเขม้นเห็นขบขันมังกรถอนพายพันทันแข่งหน้าวาสุกรีเลียงผาง่าเท้าโผนเพียงโจนไปในวารีนาวาหน้าอินทรีที่ปีกเหมือนเลื่อนลอยโพยมดนตรีมี่อึงอลก้องกาหลพลแห่โหมโห่ฮึกครึกครื้นโครมโสมนัสชื่นรื่นเริงพลกรีธาหมู่นาเวศจากนคเรศโดยสาชลเหิมหื่นชื่นกระมลยลมัจฉาสารพันมี ฯเห่ชมเรือกระบวน ถอดได้ว่าพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพยุหยาตราชลมารค พระองค์ประทับบนเรือพระที่นั่งอันงดงามวิจิตรบรรจง กระบวนพยุหยาตรางดงามยิ่ง ลีลาการพายเรือนั้นอ่อนช้อยงดงามจับตา กระบวนพยุหยาตรานั้นมากมายแน่นขนัดเต็มท้องน้ำ เรือแต่ละลำประดิษฐ์ตกแต่งโขนเรือเป็นรูปสัตว์นานาชนิด ริ้วกระบวนเรือเคลื่อนมามองเห็นทิวธงประดับเป็นทิวแถว กระบวนเรือล่องลอยมาเสียงน้ำแตกกระจายเป็นคลื่นฟองดังไปทั่วท้องน้ำ เรือครุฑยุดนาค เป็นเรือที่มีโขนเรือทำเป็นรูปพญาครุฑกำลังเหยียบขยุ้มหิ้วพญานาคมาอย่างลำพอง เรือลอยลิ่วมาอย่างรวดเร็ว พลพายต่างวาดพายทองด้วยความพร้อมเพรียง ได้ยินเสียงร้องโห่เห่ดัง รับกับจังหวะพายของฝีพายมา เรือไกรสรมุข มีความงดงามราวกับพิมานของเทวดาล่องลอยมาจากสวรรค์ มีม่านกรองทองและหลังคาเป็นลวดลายมังกรเรือ เรือสมรรถชัยล่องลอยเคียงคู่กันมา แสงแวววับที่กราบเรือส่องสะท้อนกระทบผืนน้ำระยิบระยับตา งดงามยิ่งราวกับว่าล่องลอยมาจากสวรรค์ เรือสุวรรณหงส์ เป็นเรือพระที่นั่งที่มีโขนเรือเป็นรูปพญาหงส์ ตกแต่งด้วยพู่ห้อยประดับ เป็นเรือที่เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรไชยเชษฐ์สุริยวงศ์ทรงพรรณนาไว้ว่าสง่างดงามที่สุด เดิมเรือลำนี้ชื่อว่า " เรือสุวรรณหงส์ " สร้างในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ต่อมาผุพังจนใช้การไม่ได้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้สถาปนาขึ้นใหม่ มีขนาดใหญ่กว่าเดิม พระราชทานนามว่า " เรือพระที่นั่งสุวรรณหงส์ " เรือชัยลอยเคียงคู่กันมารวดเร็วราวกับลม ได้ยินเสียงเส้ากระทุ้งบอกจังหวะฝีพายดังมาทางท้ายเรืออย่างพร้อมเพรียงฟังเร้าใจ เรือราชสีห์เรือคชสีห์ทะยานมาเป็นคู่ๆ ดูผาดโผนราวกับมีชีวิตจริงมองดูน่าขบขัน เรือราชสีห์และเรือคชสีห์ที่เคียงคู่กันอยู่ ดูมีกำลังกล้าหาญเป็นอย่างยิ่ง เรือม้า ( มีโขนเรือเป็นรูปศีรษะม้า มีลักษณะก้มหน้าคล้ายม้าหมากรุก ) มีรูปลักษณ์ของโขนเรือเป็นรูปม้า ที่มีท่าทางมองมุ่งลงไปในน้ำ เรือมีลักษณะเรียวระหง ล่อลอยมาอย่างแช่มช้า งดงามราวกับม้าทรงของพระพายที่มีพละกำลังเผ่นโผนมาอย่างลำพอง เรือสิงห์( มีโขนเรือเป็นรูปสิงโต ) แล่นเผ่นโผนทะยานฝ่าคลื่นฟองมาอย่างรวดเร็วราวกับ เรือนาคา หรือเรือวาสุกรี โขนเรือเป็นรูปพญานาค ดูหน้าตาท่าทางมองเขม้นมาแล้วเหมือนมีชีวิตจริง ดูน่าขบขัน เรือมังกร ( โขนเรือเป็นรูปมังกร ) ก็ล่องลอยมาในกระบวน พลพายพายเรืออย่างพร้อมเพรียง เรือล่องมาทันกันกันสิงห์ลำพอง กระบวนเรือล่องตามกันเป็นมาเป็นทิวแถว เรือเลียงผา มีโขนเรือเป็นรูปเลียงผากำลังยกเท้าอ้าขึ้นสูงราวกับจะกระโจนลงไปในน้ำ เรือที่มีโขนเรือเป็นรูปนกอินทรี กางปีกกว้างราวกับล่องลอยมาจากฟากฟ้ากระบวนเสด็จพยุหยาตราชลมารคเดินทางล่วงมา เสียงประโคมดนตรีดังก้อง เสียงไพร่หลแซ่ซ้องแห่โหมด้วยความโสมนัสยินดี ผู้คนสนุกสนานรื่นเริง จากนั้นก็เดินทางล่องไปต่อด้วยความรู้สึกชื่นใจ ไปยังบทชมปลาการพิจารณาคุณค่าด้านวรรณศิลป์ เรื่องกาพย์เห่เรือ๑. เนื้อหา แบ่งออกเป็น ๕ ตอน คือ๑.๑ การชมขบวนเรือในเวลาเช้า ได้พรรณนาไว้อย่างละเอียด พิสดาร๑.๒ การชมฝูงปลาในเวลาสายอุปมาอุปไมยอย่างแจ่มชัดและกินใจอย่างยิ่ง๑.๓ การชมพรรณนาดอกไม้ในเวลากลางวัน สอดใส่ความรู้สึก และอารมณ์ให้ผู้อ่านคล้อยตาม๑.๔ การชมฝูงนกในเวลาเย็น อุปมาอุปไมยแจ่มชัด เด่นชัด๑.๕ การคร่ำครวญถึงนาง ในเวลากลางคืน สร้างบรรยากาศเชิงอรรถรสและวังเวง๒. รูปแบบ ลักษณะคำประพันธ์ ใช้กาพย์ห่อโคลง คือ แต่งโคลงสี่สุภาพแล้วแต่งกาพย์เลียนแบบพรรณนาเพิ่มเติม ศิลปการประพันธ์ทำให้เกิดภาพพจน์ และความรู้สึกทางสุนทรียะอันได้แก่ ความชื่นชมในสิ่งสวยงามตามธรรมชาติ ความไพเราะของดนตรี ความรู้สึกแยบคายทางอารมณ์สะเทือนใจการพิจารณาคุณค่าด้านสังคม เรื่องกาพย์เห่เรือ๑.สะท้อนภาพชีวิตคนไทยด้านการคมนาคม แสดงการสัญจรทางน้ำให้เห็นว่าเมืองไทยมีแม่น้ำลำคลองมาก๒.แสดงถึงขนบธรรมเนียมประเพณี เช่น ประเพณีการแต่งกาย ผู้หญิงห่มผ้าสไบคลุมไหล่ เป็นต้น การไว้ทรงผมผู้หญิงนิยมไว้ ผมยาวประบ่า แล้วเก็บไรที่ถอนผมออกเป็นวงกลมการบอกเวลา นิยมใช้กลอง ฆ้องเป็นเครื่องบอกเปลี่ยนเวลาเรือในขบวนพยุหยาตราเรือชัยเรือนาควาสุกรีเรือเลียงผาเรือศรีสุพรรณหงส์
เรือครุฑจับนาค
เรือไกรสรมุข
เรือคชสีห์
เรือราชสีห์
เรือม้า
เรือมังกร
เรือสิงห์
เรืออินทรี
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี เดิมเป็นอู่หรือโรงเก็บเรือพระราชพิธี อยู่ในความดูแลของสำนักพระราชวังและกองทัพเรือ เมื่อคราวเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 อู่และเรือพระราชพิธีบางส่วนถูกระเบิดได้รับความเสียหาย และในปี พ.ศ. 2490 สำนักพระราชวังและกองทัพเรือได้มอบให้กรมศิลปากรทำการซ่อมแซมดูแลรักษาบรรดาเรือต่างๆ ที่ใช้ในพระราชพิธีเหล่านี้ เรือพระราชพิธีเป็นเรือที่มีประวัติสำคัญมาแต่โบราณ ที่ยังคงมีความสวยงามในฝีมือช่างอันล้ำเลิศ และทรงคุณค่าในงานศิลปกรรม ประการสำคัญ ยังสามารถนำมาใช้ในการพระราชพิธีต่างๆ สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบันนี้
กรมศิลปากรเล็งเห็นความสำคัญ จึงได้ขึ้นทะเบียนเรือพระที่นั่งต่างๆ ไว้เป็นมรดกของชาติ พร้อมทั้งยกฐานะของอู่เก็บเรือขึ้นเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี เมื่อปี พ.ศ. 2517
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี ตั้งอยู่เลขที่ 80/1 ริมคลองบางกอกน้อย ถนนอรุณอัมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700 เส้นทางเข้าชมพิพิธภัณฑ์มี 2 ทางคือ
1. ทางน้ำ ใช้บริการท่องเที่ยวโดยบริษัททัวร์ หรือจ้างเหมาเรือโดยสารทั่วไป
2. ทางบก ใช้เส้นทางเชิงสะพานอรุณอัมรินทร์ เส้นทางเชิงสะพานพระปิ่นเกล้าฯ ด้านฝั่งธนบุรี บริเวณซอยวัดดุสิตาราม
ประเภทการจัดแสดง
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี มีจำนวน 2 อาคาร1.
อาคารสำนักงาน
2.
อาคารห้องจัดแสดง จัดแสดงเรือพระราชพิธี จำนวน 2 ลำ จัดแสดงโขนเรือนารายณ์ทรงสุบรรณเก่า ซึ่งเป็นต้นแบบเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 และจัดแสดงสิ่งของเครื่องใช้ประกอบในพระราชพิธีชลมารค
โบราณวัตถุที่จัดแสดง
1.เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ โขนเรือเป็นรูปหงส์ เป็นเรือพระที่นั่งกิ่ง (หมายถึง เรือที่เป็นเครื่องประดับยศ เป็นเรือพระที่นั่งชั้นสูง มีโปรดให้พระบรมวงศานุวงศ์ชั้นใดประทับเป็นแต่บางครั้ง โปรดฯ ให้เป็นเรือทรงผ้าไตรหรือผ้าทรงสะพักพระพุทธรูป หรือพานพุ่มดอกไม้) เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 และแล้วเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 6
2.เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 กรมศิลปากรร่วมกับกองทัพเรือ และสำนักพระราชวังสร้างเรือลำนี้ใหม่ เพื่อถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในมหามงคลวโรกาสพระราชพิธีกาญจนาภิเษก และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามเรือพระที่นั่งต่อใหม่นี้ว่า เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9
3.เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช โขนเรือเป็นรูปนาค 7 เศียร เป็นเรือพระที่นั่งกิ่ง สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 โดยปรกติแล้ว เรือพระที่นั่งอนันตนาคราชใช้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ หรือผ้าพระกฐินในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค
4.เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ เป็นเรือพระที่นั่งรอง สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 โขนเรือจำหลักลายปิดทองรูปพญานาคเล็กๆ จำนวนมาก
5.เรืออสุรวายุภักษ์ จัดว่าเป็นเรือรูปสัตว์ โขนเรือสลักเป็นรูปยักษ์ กายเป็นนกสีครามปิดทองประดับกระจก
6.เรือกระบี่ปราบเมืองมาร โขนเรือสลักรูปขุนกระบี่ ปิดทองประดับกระจก ไม่พบหลักฐานที่สร้าง เรือลำนี้ถูกระเบิดได้รับความเสียหายจากสงครามโลกครั้งที่ 2 พ.ศ. 2487 กรมศิลปากรได้สร้างขึ้นใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2510
7.เรือครุฑเหินเห็จ ไม่พบหลักฐานที่สร้าง เรือลำนี้ถูกระเบิดได้รับความเสียหายจากสงครามโลกครั้งที่ 2 พ.ศ. 2487 กรมศิลปากรจึงนำโขนเรือเดิมมาซ่อมแซมขึ้นใหม่จนถึงปัจจุบัน
8.เรือเอกชัยเหินหาว โขนเรือเขียนลวดลายเป็นรูปจระเข้หรือเหรา เรือลำนี้ได้ถูกระเบิดเสียหายในสงครามโลกครั้งที่ 2 พ.ศ. 2487 และทำการตกแต่งซ่อมแซมตัวเรือใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2508
เรือพระราชพิธี